ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์...เขื่อนลำปาวม.6ห้อง2

การปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำลำปาว

โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
 ประวัติโครงการ
รายละเอียดและลักษณะของโครงการปัจจุบัน

โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
 ประวัติโครงการ
รายละเอียดและลักษณะของโครงการปัจจุบัน

1.
ประวัติโครงการ

     
ลำปาวเป็นลำน้ำสาขาสำคัญของแม่น้ำชี มีต้นน้ำอยู่ที่หนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แล้วไหลลงมารวมกับแม่น้ำชีที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดประมาณ 7,400 ตารางกิโลเมตร ปัญหาของการเพาะปลูกในเขตลุ่มน้ำลำปาวก็เช่นเดียวกันปัญหาที่เกิดอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ การขาดแคลนน้ำต้นฤดูทำนาปีและฤดูแล้ง ส่วนในกลางฤดูฝน ฝนตกชุก น้ำล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมที่ราบลุ่มริมลำน้ำที่เรียกว่า นาทาม ทั้งริมฝั่งลำปาวและบริเวณลำปาวบรรจบแม่น้ำชีเสียหายเป็นประจำแทบทุกปี จนเป็นเหตุให้ราษฏรที่อยู่ในเขต นาทาม ต้องอพยพไปหาแหล่งทำกินใหม่ทางต้นน้ำ ทำการตัดต้นไม้ ถากถางและปรับพื้นที่จนเป็นการทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติยิ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำลำปาวกรมชลประทานจึงได้เริ่มพิจารณาโครงการเพื่อทำการก่อสร้างเขื่อนลำปาวในปี พ.ศ. 2499 โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกและรัฐบาลไทย ต่อมาคณะกรรมการเศรษฐกิจอนุมัติให้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2503 โดยมีบริษัท Engineering Consultants. Inc (ECI) จากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ใช้งบประมาณการก่อสร้างจากเงินกู้และเงินช่วยเหลือให้เปล่าจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐ (USAID) ส่วนหนึ่งสมทบกับเงินงบประมาณแผ่นดิน เริ่มก่อสร้างตัวเขื่อนดินและอาคารประกอบในปี พ.ศ. 2506 ที่บ้านหนองสองห้อง และบ้านสะอาดนาทม ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เสร็จเรียบร้อยและสามารถเก็บกับน้ำได้ตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2511
เขื่อนลำปาวประกอบด้วยเขื่อนดิน 2 เขื่อนเชื่อมถึงกัน เขื่อนดินที่สร้างขวางกั้นลำปาวสูง 33 เมตร ยาว 3,560 เมตร และอีกเขื่อนหนึ่งสร้างขวางกั้นห้วยยางสูง 26 เมตร ยาว 2,420 เมตร ตัวเขื่อนดินที่เชื่อมต่อระหว่างเขื่อนทั้งสองยาว 1,820 เมตร รวมความยาวเขื่อนลำปาวทั้งสิ้น 7,800 เมตร เก็บกักน้ำได้ 990 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้นโดยก่อสร้างฝายยางสูง 2 เมตร เหนือระดับเส้นฝายน้ำล้น ทำให้สามารถเก็บกับน้ำได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในส่วนของระบบส่งน้ำ ก่อสร้างแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2528 ประกอบด้วยคลองส่งน้ำสายใหญ่จำนวน 2 สาย คลองส่งน้ำสายซอยจำนวน 112 สาย ความยาวรวม 585.517 กิโลเมตร ระบบส่งน้ำครอบคลุมพื้นที่ชลประทานทั้งสิ้น 314,000 ไร่ ในฤดูฝนและ 180,000 ไร่ ในฤดูแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ 233 หมู่บ้าน 33 ตำบล ในเขตอำเภอเมือง อำเภอยางตลาด อำเภอกมลไสย และอำเภอ ฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
วันที่ 20 ธันวาคม 2548 คณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบและอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอโครงการลงทุนด้านทรัพยากรน้ำระยะเร่งด่วน ปี 2549 (เพิ่มเติม) ภายใต้กรอบโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Project) ด้านทรัพยากรน้ำ ซึ่มีแผนโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกับน้ำอ่างเก็บน้ำลำปาว จ.การสินธุ์ ค่าลงทุนทั้งโครงการ 2,970 ล้านบ้าน ระยะเวลาดำเนินการ 2549-2551 ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามมาตร 23 วรรค 4 ระหว่างปีงบประมาณ 2549 - 2552 เฉพาะงานจ้างก่อสร้างปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำ วงเงิน 1,508 ล้านบาท
วันที่ 21 สิงหาคม 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุมัติให้กรมชลประทานขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

2.
ลักษณะโครงการในปัจจุบัน

   
2.1 ที่ตั้งโครงการ

      
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำลำปาว มีที่ตั้งอยู่ภายในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว บ้านสะอาดนาทม ต.ลำคลอง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ พิกัด 48 QUD 335336 แผนที่ 1:50000 ระหวาง 5642-II สังกัดสำนักโครงการขนาดใหญ่ โทรศัพท์ 0-4381-3874 การเดินทางเข้าสู่ที่ตั้งที่ทำการและหัวงานโครงการ สามารถเดินทางตามทางหลวงสาย 12 (มหาสารคาม-กาฬสินธุ์) ที่ กม.620+200 มีถนนแยกซ้ายมือเข้าสู่โครงการเป็นถนนลาดยางระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร (หมายเลขทางหลวง 2416) และทางทิศตะวันตกแยกจากทางหลวงสาย 227 (กาฬสินธุ์-สหัสขันธ์) ที่ประมาณ กม. 18+500 มีถนนแยกซ้ายมือเป็นถนนลาดยางตลอดทั้งสาย ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เข้าถึงที่ทำการโครงการ





2.2
อาณาเขตโครงการ

     
ประกอบด้วยพื้นที่อ่างเก็บน้ำและพื้นที่ชลประทาน พื้นที่อ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 90) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามชัย อำเภอห้วยเม็ก อำเภอท่าคันโท อำเภอหนองกรุงศรี และอำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีธาตุ และอำเภอวังสามหมอ พื้นที่ชลประทานครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอยางตลาด อำเภอมลาไสย อำเภอเมือง และอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

2.3
เขื่อน

     
เขื่อนลำปาวเป็นเพื่อนดิน 2 เขื่อนเชื่อมติดกัน ปิดกั้น 2 ลำน้ำ ได้แก่ช่วงปิดกั้นลำปาวที่บ้านหนองสองห้อง และช่วงปิดกั้นห้วยยางที่บ้านสะอาดนาทม ตำบลคำคลองอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์
     
-   สันเขื่อนกว้าง
8.00
เมตร
-   ความยาวรวม
7,799
เมตร
-   ความสูง (ช่วงสูงที่สุด)

     ช่วงเขื่อนลำปาว
33.00
เมตร
     ช่วงเขื่อนห้วยยาง
26.00
เมตร
-   ฐานเขื่อนกว้างสุด
228.00
เมตร
-   ระดับน้ำสันเขื่อน
+167.80
เมตร(ร.ท.ก.)

2.4 อ่างเก็บน้ำ
-   พื้นที่น้ำฝนของอ่าง
5,960 
ตารางกิโลเมตร
-   พื้นที่อ่างเก็บน้ำที่ระดับ+166.00
356,600
ไร่
-   ระดับน้ำสูงสุด
+165.70
เมตร (ร.ท.ก.)
-   ระดับน้ำเก็บกัก
+162.00
เมตร (ร.ท.ก.)
-   ระดับน้ำต่ำสุด
+150.00
เมตร (ร.ท.ก.)
-   ความจุของอ่างที่ระดับน้ำสูงสุด
2,450
ล้านลูกบาศก์เมตร
-   ความจุของอ่างที่ระดับเก็บกัก
1,430
ล้านลูกบาศก์เมตร
-   ความจุของอ่างที่ระดับธรณีท่อส่งน้ำ
100
ล้านลูกบาศก์เมตร

2.5 อาคารประกอบเขื่อนลำปาว

     
- อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet)         เป็นท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.00 เมตร ยาว 11.400 เมตร ด้านท้ายน้ำแบ่งออกเป็น 3 ช่อง ขนาดของประตูระบายน้ำกว้างช่องละ 1.25 เมตร สูง 2.00 เมตร ใช้งานสำหรับระบายน้ำ 2 ช่อง และส่งน้ำเข้าคลองสายใหญ่ฝั่งซ้าย 1 ช่อง อาคารรับน้ำเป็นแบบ Morning Glory สามารถระบายน้ำด้วยบานระบายประเภท High Pressure Gate ได้สูงสูง 80.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที


     
- อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)         อาคารรับน้ำเป็นแบบ Ogee Weir ระดับสันฝาย +160.00 เมตร (ร.ท.ก.) ระดับเสริมสันฝายด้วยฝายยาง +162.00 เมตร (ร.ท.ก.) ระบายน้ำได้สูงสุด 1,400.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีช่องระบายน้ำกว้างช่องละ 15.00 เมตร จำนวน 3 ช่อง

      - อาคารบังคับน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา (Head Regulator RMC)
       
เป็นท่อสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 2.10 เมตร สูง 2.30 เมตร ยาว 52 เมตร จำนวน 3 ช่อง ส่งน้ำได้สูงสุด 37.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที


      -
อาคารบังคับน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย (Head Regulator LMC)
       
เป็นท่อกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.50 เมตร ความยาว 64.00 เมตร ส่งน้ำได้สูงสุด 30.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที


2.6
ระบบส่งน้ำ (Irrigation System)

      -
คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา (
Right Main Canal)
       
คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวายาว 91.70 กิโลเมตร สามารถส่วน้ำให้พื่นที่ชลประทานฝั่งขวาของลำน้ำป่าวและพื้นที่บางส่วนของฝั่งซ้ายแม่น้ำชีทำการปลูกพืชประจำปีได้ประมาณ 232,800 ไร่


      -
คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย (Left Main Canal)
       
คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายยาว 66.90 กิโลเมตร สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานฝั่งซ้ายของลำน้ำปาวทำการปลูกพืชประจำปีได้ประมาณ 81,200 ไร่


      -
คลองส่งน้ำสายซอยและแยกซอย
       
คลองส่งน้ำสายซอยและสายแยกซอย ที่แยกออกจาก คลองสายใหญ่ทั้งฝั่งขวาและฝั่งซ้าย รวมกันจำนวน 112 สาย มีความยาวรวมทั้งหมด 452.375 กิโลเมตร

      -
อาคารบังคับน้ำใตคลองส่งน้ำ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,554 แห่ง

      -
คูส่งน้ำสายหลักและสายแยก จำนวน 1,134 สาย รวมความยาวทั้งหมด 2,300 กิโลเมตร

      -
อาคารบังคับน้ำในคูส่งน้ำ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 10,627 แห่ง

      -
ระบบการระบายน้ำ ประกอบด้วยคลองระบายน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่ชลประทาน จำนวน 108 สาย ความยาวรวมทั้งสิ้น 248 กิโลเมตร และอาคารบังคับน้ำในคลองระบายน้ำ รวมทั้งสิ้น 403 แห่ง

2.7
พื้นที่ชลประทาน

      -
พื้นที่ในเขตระบบส่งน้ำ
          -   ฤดูฝนประมาณ
314,000
ไร่
          -   ฤดูแล้งประมาณ
180,000
ไร่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น